หน่วยการเรียนรู้ที่ 1

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ


                           “นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  เมื่อนำ  นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
ดังนั้น นวัตกรรมอาจหมายถึงสิ่งใหม่ๆ ดังต่อไปนี้
                    1. สิ่งใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ใดเคยทำมาก่อนเลย
                    2. สิ่งใหม่ที่เคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่

                    3. สิ่งใหม่ที่มีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม

                             นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1
 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
                    ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation
                  "นวัตกรรมการศึกษา" การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิด วิธีการ หรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้น ทั้งในส่วนที่ไม่เคยมีมาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งที่มีอยู่แต่เดิม ให้ดีขึ้น โดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้นำมาดำเนินการหรือสนับสนุน ส่งผลให้การเรียนรู้ มีประสิทธิภาพสูงสุด

                               ลักษณะของนวัตกรรมการศึกษา
แนวคิดเกี่ยวกับลักษณะของนวัตกรรมการศึกษาไว้ 5 ลักษณะ คือ
          1. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น อาจจะเก่ามาจากที่อื่น แต่ในสภาพการณ์ปัจจุบันในบางแห่งอาจจะเหมาะสมที่จะนำมาใช้ เช่น การสอนเป็นทีม การเรียนจากเครื่องช่วยสอน เป็นต้น
          2. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น ทั้งที่ครั้งหนึ่งเคยนำมาใช้แล้ว แต่บังเอิญไม่เกิดผล เพราะสิ่งแวดล้อมไม่อำนวย แต่เมื่อถึงเวลาหนึ่ง มีความพร้อมในการใช้ความคิดนั้น ก็นำแนวความคิดนั้นมาใช้ กลายเป็นนวัตกรรมขึ้น เช่น ระบบการสื่อสารมวลชนที่นำมาใช้ เกี่ยวกับการสอนทางวิทยุและโทนทัศน์เพื่อการศึกษา เป็นต้น
          3.ความคิดหรือการกระทำใหม่ เพราะมีสิ่งใหม่ๆเข้ามาพร้อมๆกับความคิดที่อยากจะทำสิ่งใหม่ๆพอดี และช่วยแก้ไขปัญหาทางการศึกษาได้ เป็นความหมายที่แท้จริงของนวัตกรรมการศึกษา
         4. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้น ครั้งหนึ่งเคยถูกผู้บริหารคัดค้านไม่ให้กระทำ และในปัจจุบันได้รับการสนับสนุนให้กระทำ ก็จัดว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา
         5. ความคิดหรือการกระทำใหม่นั้นมีการดำเนินการใหม่จริงๆ ยังไม่มีผู้ใดจัดทำมาก่อน
                           ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา
1. นวัตกรรมการศึกษาที่ยึดแนวคิดความพื้นฐานเป็นหลัก
2. นวัตกรรมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา

                       1. นวัตกรรมการศึกษาที่ยึดแนวความคิดพื้นฐานเป็นหลัก
        สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ
                   1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Difference)   
                   2.ความพร้อม(Readiness)
                   3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา (Use of Time)
                   4. การขยายตัวทางวิชาการ-การเปลี่ยนแปลงจำนวนประชากร
                        2. นวัตกรรมการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา
สามารถแบ่งได้เป็น 5 ด้าน คือ

1.  นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร

2. นวัตกรรมการเรียนการสอน

3. นวัตกรรมสื่อการสอน

4. นวัตกรรมการประเมินผล

5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ

                                           เทคโนโลยี

                   เทคโนโลยีตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "Technology" ซึ่งมาจากภาษากรีกว่า "Technologia" แปลว่า การกระทำที่ระบบ  ความหมายของเทคโนโลยี คือ   วิทยาการที่เกี่ยวกับศิลปะในการนำเอวิทยาศาสตร์ประยุกต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติและอุตสาหกรรมหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกล สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ทาง อุตสาหกรรม ถ้าในแง่ของความรู้ เทคโนโลยีจะหมายถึง ความรู้หรือศาสตร์ที่เกี่ยวกับเทคนิคการผลิตในอุตสาหกรรม และกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ หรืออาจสรุปว่า เทคโนโลยี คือ ความรู้ที่มนุษย์ใช้
                                         ระดับของเทคโนโลยี
         
             1. เทคโนโลยีระดับเบื้องต้น สามารถจัดหาได้ภายในประเทศ หรือสามารถพัฒนาขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น ตู้เย็น โทรศัพท์ เป็นต้น
            2. เทคโนโลยีระดับกลาง มักต้องซื้อจากต่างประเทศ แต่สามารถพัฒนาได้ภายในประเทศ หากมีแผนการพัฒนาที่ต่อเนื่อง เช่น โทรทัศน์ เครื่องเสียง เป็นต้น
            3. เทคโนโลยีระดับสูง ต้องซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ แต่สามารถใช้งานโดยคนไทย หากพัฒนาในประเทศจะต้องซื้อเทคโนโลยีแกนจากต่างประเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น
           4. เทคโนโลยีระดับสูงมาก ต้องซื้ออุปกรณ์ และทักษะการใช้งานจากต่างประเทศ เช่น ระบบคมนาคมสื่อสารขนาดใหญ่


                                      ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา
เทคโนโลยี (Technology) มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ
Tech = Art ในภาษาอังกฤษ
Logos = A study of
ดังนั้น คำว่า เทคโนโลยี จึงหมายถึง A study of art ซึ่งได้มีผู้แปลความหมาย สรุป ได้ว่าเทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาและปฏิบัติงาน อย่างเป็นระบบ โดยสามารถนำไปใช้ในสาขาต่าง ๆ กัน และเรียกชื่อไปตามสาขาที่ใช้

                                 ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษาของประเทศไทย
                 การนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้นั้น ส่วนใหญ่นำมาใช้ในการแก้ปัญหา ในด้านการศึกษาก็เช่นเดียวกัน เพราะปัญหาทางด้านการศึกษามากมาย เช่น
- ปัญหาผู้สอน
- ปัญหาผู้เรียน
- ปัญหาด้านเนื้อหา
- ปัญหาด้านเวลา
- ปัญหาเรื่องระยะทาง
นอกจากนั้นการนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการเรียนการสอน ก็เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเรียนการสอน และเพิ่มประสิทธิผลทางการศึกษาอีกด้วย

                                                                          สารสนเทศ
              ความหมายของสารสนเทศ     
    สารสนเทศ อ่านว่า สาระ-สน-เทศ 
    สาร หรือ สาระ เป็นคำประกอบหน้าคำ แปลว่า สำคัญ
·          สนเทศ หมายถึง คำสั่ง ข่าวสาร ใบบอก
·           สารสนเทศ จึงหมายถึงข่าวสารที่สำคัญ เป็นระบบข่าวสารที่กำหนดขึ้น และจัดทำขึ้นภายในองค์การต่างๆ ตามความต้องการของเจ้าของหรือผู้บริหารองค์การนั้นๆ
·         สารสนเทศ ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Information    คำว่า Information นั้น พจนานุกรมเวบสเตอร์ ให้ความหมายไว้ว่า ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า สารสนเทศ เป็นความรู้และข่าวสารที่สำคัญที่มีลักษณะพิเศษ ทั้งในด้านการได้มาและประโยชน์ในการนำไปใช้ปฏิบัติ จึงได้มีการประมวลความหมายของสารสนเทศไว้ใกล้เคียงกัน
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน เป็นต้น เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไป ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหตือตอบ ปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่างๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ใน รูปที่มีความหมาย สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
             องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
ในส่วนขององค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้หากพิจารณาได้ใน 2 ลักษณะ คือ

         1.องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ พิจารณาเชิงเทคโนโลยี 
จะประกอบด้วยเทคโนโลยี 2 สาขาหลัก คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
1.              เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
                  คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถจดจำข้อมูลต่าง ๆ และปฏิบัติตามคำสั่งที่บอก เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้ คอมพิวเตอร์นั้นประกอบด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ต่อเชื่อมกันเรียกว่า ฮาร์ดแวร์ (Hardware) และอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นี้จะต้องทำงานร่วมกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือที่เรียกกันว่า ซอฟต์แวร์ (Softwareเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม

          เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม 
                  ใช้ในการติดต่อ สื่อสาร รับ-ส่งข้อมูลจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง เป็นการส่งของข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือที่อยู่ห่างไกลกัน ซึ่งจะช่วยให้การเผยแพร่ข้อมูลหรือสารสนเทศไปยังผู้ใช้ในแหล่งต่าง ๆ เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง ครบถ้วน และทันการณ์ ซึ่งรูปแบบของข้อมูลที่รับ/ส่งอาจเป็นตัวเลข (Numeric Data) ตัวอักษร (Text) ภาพ (Image) และเสียง (Voice) เทคโนโลยีที่ใช้ในการสื่อสารหรือเผยแพร่สารสนเทศ ได้แก่ เทคโนโลยีที่ใช้ในระบบโทรคมนาคมทั้งชนิดมีสายและไร้สาย เช่น ระบบโทรศัพท์, โมเด็ม, แฟกซ์, โทรเลข, วิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์ เคเบิ้ลใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวฟ และดาวเทียม เป็นต้น
            2.องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ พิจารณาเชิงระบบ
      จะพบว่าระบบสารสนเทศจะประกอบด้วยองค์ประกอบต่างที่จะนำพาให้ระบบสารสนเทศทำงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ มี 4 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคคลากร  โดยมีดังนี้
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ซอฟต์แวร์ (Software)
- ข้อมูล(Data)
- บุคลากร (People)

                       ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ
            เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศและทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์ 

                       
จุดกำเนิดของเทคโนโลยีสารสนเทศ
             หากจะกล่าวถึงจุดกำเนิดของเทคโนโลยีกันแล้ว ในทางทฤษฎีของกระบวนการหรือวิธีการนั้น ก็คงเป็นเรื่องที่ยาก ต่อการอธิบาย แต่หากเรามามองถึงปัจจัยทางโครงสร้างนั้นจะพบว่าเป็นการหลอมรวมกันระหว่าง เทคโนโลยี กับ สารสนเทศ ที่เป็นระบบของข้อมูลของแต่ละแขนงเข้าด้วยกัน ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดจากการรวมตัวของ  เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์และ เทคโนโลยีโทรคมนาคม เข้าด้วยกัน ได้แก่

                    เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
            ในด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์ เป็นเทคโนโลยีที่มีความต่อเนื่องเกี่ยวพันกัน กล่าวคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ถือเป็นวิวัฒนาการส่วนขยาย ที่แตกแขนงออกมา และกลายเป็นเส้นทางที่ยิ่งใหญ่ แผ่กระจายออกไปในหลายมิติ 

                         เทคโนโลยีโทรคมนาคม
              ในส่วนของเทคโนโลยีโทรคมนาคม มีปัจจัยหรือองค์ประกอบที่สำคัญอยู่ 3 ส่วนคือ เทคโนโลยีเครือข่าย  เทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูล และเทคโนโลยีการสื่อสาร

                            เทคโนโลยีเครือข่าย 
               โดยเฉพาะเครือข่าย Integrated services digital network : ISDN ที่วางมาตรฐานสำหรับการรวมเครือข่ายโทรศัพท์และเครือข่ายข้อมูลที่เคยแยกกัน บริการเสียงและข้อมูลจะถูกรวม (Integrated) บนเครือข่าย ISDN เนื่องจากทั้งเสียงและข้อมูลจะได้รับการแปลงเป็นดิจิตอลบิต (Digital Bit) เช่นเดียวกัน ส่งผลให้ข้อจำกัดในการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายโทรศัพท์หมดไป ผู้ใช้สามารถพูดคุยและส่งข้อมูลจำนวนมากบนสายเดียวกัน ประกอบกับการที่เครือข่ายดังกล่าวใช้เทคนิคการส่งผ่านข้อมูลและการสลับสายที่ก้าวหน้าที่เรียกว่า Asynchronous Transfer Mode : ATM จะส่งผลให้บริการสื่อมัลติมีเดียในระบบดิจิตอล (Digitized multi-media) ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ


                           เทคโนโลยีการส่งผ่านข้อมูล (Telecommunications Transmission Technology)
               เป็นเทคโนโลยีที่รองรับกระบวนการส่งผ่านข้อมูล ด้วยปริมาณและความเร็ว อาทิเทคโนโลยีไมโครเวฟ เทคโนโลยีดาวเทียม และเทคโนโลยีเคเบิลใยแก้ว ล้วนแต่ได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเคเบิลใยแก้วนำแสงหนึ่งใยแก้ว สามารถนำสัญญานการพูดคุยโทรศัพท์ 30,000 สัญญาณได้พร้อมกันในเวลาเพียงแค่ 0.1 mm in diameter ซึ่งในสายเคเบิลเส้นหนึ่งประกอบไปด้วยเส้นใยแก้วมากมาย

                         เทคโนโลยีการสื่อสาร (Telecommunications Transmission Technology)
            เป็นเทคโนโลยีที่รองรับกระบวนการส่งผ่านข้อมูล ด้วยปริมาณและความเร็ว อาทิเทคโนโลยีไมโครเวฟ เทคโนโลยีดาวเทียม และเทคโนโลยีเคเบิลใยแก้ว ล้วนแต่ได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะเคเบิลใยแก้วนำแสงหนึ่งใยแก้ว สามารถนำสัญญานการพูดคุยโทรศัพท์ 30,000 สัญญาณได้พร้อมกันในเวลาเพียงแค่ 0.1 mm in diameter ซึ่งในสายเคเบิลเส้นหนึ่งประกอบไปด้วยเส้นใยแก้วมากมาย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น