การสื่อสาร (Communication) หมายถึง
การถ่ายทอดข้อมลูและการรับสาร มนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา การสื่อสารมีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์
ซึ่งในปัจจุบันนี้โลกเรามีการติดต่อข้อมูลข่าวสารกันเป็นอย่างมาก
จึงทำให้การสื่อสารเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญของชีวิต การสื่อสารยังช่วยให้ประโยชน์เปิดโลกทัศน์สร้างความรู้และอีกมากมาย
ความสำคัญของการสื่อสาร
การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเป็นปกติวิสัยของคนทุกคน
และมีความเกี่ยวข้องไปถึงบุคคลอื่น ตลอดจนถึงสังคมที่แต่ละคนเกี่ยวข้องอยู่
ไม่ว่าจะทำสิ่งใด ล้วนต้องอาศัยการสื่อสารเป็นเครื่องมือช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ทั้งสิ้น
ดังนั้นการสื่อสารจึงมีความสำคัญสำหรับบุคคลและสังคมหลายด้าน คือ
1. ด้านชีวิตประจำวัน
ในชีวิตประจำวันหนึ่งๆ แต่ละคนจะต้องสื่อสารกับตัวเองและสื่อสารกับผู้อื่นตลอดเวลา
นับตั้งแต่เวลาตื่นนอนก็ต้องสื่อสารกับตัวเองและคนอื่นที่อยู่ใกล้ตัว การฟังวิทยุ
อ่านหนังสือ เป็นต้น
2. ด้านสังคม
การรวมกลุ่มในสังคมทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับประเทศ
จะต้องมีการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจร่วมกันในเรื่องต่างๆ
3. ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม
เกี่ยวกับการโฆษณาสินค้า การประชาสัมพันธ์ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
การบริหารติดต่อประสานงาน การฝึกอบรมพนักงาน การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีการสื่อสาร
ฯลฯ
4. ด้านการเมืองการปกครอง
เช่น การประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาล
การสร้างความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องต่างๆ การบังคับบัญชาสั่งการ
การให้บริการประชาชน
การชักชวนให้ปฏิบัติตามระเบียบกฏหมายซึ่งล้วนจะต้องใช้เทคนิควิธีการของการสื่อสารทั้งสิ้น
5. ด้านการเมืองระหว่างประเทศ
ซึ่งต้องมีการติดต่อสร้างความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ เช่น การค้า การทหาร
การทำสนธิสัญญา ฯลฯ การมีนักการฑูตประจำในประเทศต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในเรื่องต่างๆ
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่งสาร คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลสารไปยังผู้รับสารโดยผ่านช่องทางที่เรียกว่าสื่อผู้ส่งสารจะต้องมีทักษะในการสื่อสาร
มีเจตคติต่อตนเอง ต่อเรื่องที่ส่ง ต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่จะส่งและอยู่ในระบบสังคมเดียวกับผุ้รับก็จะทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ
2. ข่าวสาร ในกระบวนการติดต่อสื่อสารก็มีความสำคัญ
ข่าวสารที่ดีต้องแปลเป็นรหัสเพื่อสะดวกในการส่งการรับและตีความ
เนื้อหาของสารและการจัดสารก็จะต้องทำให้การสื่อความหมายง่ายขึ้น
3. สื่อหรือช่องทางในการรับสาร
คือ ประสาทสัมผัสทั้งห้า คือ ตา หู จมูก
ลิ้น และกายสัมผัส และตัวกลางที่มนุษย์สร้างขึ้นมา เช่น ส่งพิมพ์ กราฟิก
สื่ออิเล็กทรอนิกส์
4. ผู้รับสาร
คือ ผุ้ที่เป็นป้าหมายของผุ้ส่งสาร
การสื่อสารจะมีประสิทธิภาพผู้รับสารจะต้องมีประสิทธิภาพในการรับรู้
มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสารต่อผู้ส่งสารและต่อตนเองด้วย
1. เพื่อแจ้งให้ทราบหรือเพื่อทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้ง หรือบอกกล่าว ข่าวสาร ข้อมูล เหตุการณ์ ความคิด ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ
2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านองค์ความรู้ ความคิด สติปัญญา ฉะนั้นจึงมุ่งเน้นไปที่การเรียนการสอนหรือการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการโดยเฉพาะ
3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ ความรู้สึกแก่ผู้รับสาร ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารมีข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับสาร และมีกลวิธีในการนำเสนอเป็นที่พอใจ
4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ มุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม หรือยอมรับปฏิบัติตาม
หลักในการสื่อสาร
1. ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์
จะต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสาร
และปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรู้ การคิด การเรียนรู้ การจำ
ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพ ในการสื่อสาร
2. ผู้ที่จะสื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร
บริบทในการสื่อสาร หมายถึง
สิ่งที่อยู่แวดล้อมที่มีส่วนในการกำหนดรู้ความหมายหรือความเข้าใจในการสื่อสาร
3. คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง
(frame of reference) มนุษย์ทุกคนจะมีพื้นความรู้ทักษะ
เจตคติ ค่านิยม สังคม ประสบการณ์ ฯลฯ เรียกว่าภูมิหลังแตกต่างกัน
ถ้าคู่สื่อสารใดมีกรอบแห่ง
การอ้างอิงคล้ายกัน ใกล้เคียงกัน
จะทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น
4. การสื่อสารจะมีประสิทธิผล
เมื่อผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทาง ที่เหมาะสม ถึงผู้รับสารที่มีทักษะในการสื่อสารและมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน
5. ผู้ส่งสารและผู้รับสาร
ควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า เพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่น สะดวก รวดเร็ว
เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที หากจะเกิดอุปสรรค์
ที่จุดใดจุดหนึ่ง
6. คำนึงถึงการใช้ทักษะ
เพราะภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในการสื่อความหมาย
ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสื่อสาร คู่สื่อสารต้องศึกษาเรื่องการใช้ภาษา
และสามารถใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคล เนื้อหาของสาร และช่องทางหรือสื่อ
ที่ใช้ในการสื่อสาร
7. คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลา
ถือเป็นการประเมินผลการสื่อสาร
ที่จะทำให้คู่สื่อสารรับรู้ผลของการสื่อสารว่าประสบผลดีตรงตามวัตถุหรือไม่
ควรปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อบกพร่องใด
เพื่อที่จะทำให้การสื่อสารเกิดผลตามที่ต้องการ
รูปแบบการสื่อสาร
การสื่อสารมี 5 รูปแบบ
คือ
1. การพูด ผู้พูดต้องพูดให้ผู้ฟังเข้าใจ
ไม่พูดสับสน หรือก่อให้เกิดความรำคาญ หรือโกรธเคือง
2. การฟัง ผู้ฟังต้องฟังอย่างตั้งใจ
ไม่ทำสิ่งรบกวนผุ้พูด ต้องพยายามเข้าใจความหมายและความรู้สึกของผู้พูด อย่าบิดเบือนความเข้าใจต่อสารที่ได้รับ
3. การเขียน ผู้เขียนต้องเขียนให้แจ่มชัด
อักษรชัดเจน ขนาดอ่านได้สะดวก ควรใช้คำที่แสดงความต้องการหรือความรู้สึกให้ผู้อ่านเข้าใจ
4. การอ่าน ผู้อ่านต้องพยายามอ่านให้เข้าใจผู้เขียนโดยไม่บิดเบือนเจตนาของผู้เขียนและอ่านด้วยความสุจริตใจ
5. การใช้กริยา ผู้ส่งสารและผู้รับสารอาจจะใช้ท่าทางประกอบการสื่อสารระหว่างกันและกันเพื่อทำให้การสื่อสารมีความชัดเจนยิ่งขึ้น
1. การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) คือการ สื่อสารที่ข่าวสารจะถูกส่งจากผู้ส่งไปยังผู้รับในทิศทางเดียว โดยไม่มีการตอบโต้กลับจากฝ่ายผู้รับ เช่น การสื่อสารผ่านสื่อ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์
2. การสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) คือการสื่อสารที่มีการส่งข่าวสารตอบกลับไปมาระหว่างผู้สื่อสาร ดังนั้นผู้สื่อสารแต่ละฝ่ายจึงเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน ผู้สื่อสารมีโอกาสทราบปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างกัน ทำให้ทราบผลของการสื่อสารว่าบรรลุจุดประสงค์หรือไม่ และช่วยให้สามารถปรับพฤติกรรมในการสื่อสารให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น การพบปะพูดคุยกัน การพูด
โทรศัพท์
3. จำแนกตามภาษาสัญลักษณ์ที่แสดงออก
3.1 การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) หมายถึงการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาพูด หรือเขียนเป็นคำพูด ในการสื่อสาร
3.2 การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Non-Verbal Communication) หมายถึงการสื่อสารโดยใช้รหัสสัญญาณอย่างอื่น เช่น ภาษาท่าทาง การแสดงออกทางใบหน้า สายตา ตลอดจนถึงน้ำเสียง ระดับเสียง ความเร็วในการพูด เป็นต้น
3.1 การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) หมายถึงการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาพูด หรือเขียนเป็นคำพูด ในการสื่อสาร
3.2 การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Non-Verbal Communication) หมายถึงการสื่อสารโดยใช้รหัสสัญญาณอย่างอื่น เช่น ภาษาท่าทาง การแสดงออกทางใบหน้า สายตา ตลอดจนถึงน้ำเสียง ระดับเสียง ความเร็วในการพูด เป็นต้น
ขั้นตอนในการสื่อสาร
ในการสื่อสารจะเกิดขั้นตอนเรียงตามลำดับดังนี้
1. ระยะแรกความต้องการการสื่อสาร
คือสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้บุคคลต้องการสื่อสารหรือทำการสื่อสาร ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งเร้าภายนอก
เช่น จดหมาย ข้อสังเกตจากการสังเกตเห็นผู้อื่น เกิดความคิดขึ้น ระยะนี้จะเกิดจุดมุ่งหมายของการสื่อสารและผู้ฟังด้วย
2. ระยะที่สอง สารถูกสร้างขึ้น ระยะนี้ความคิดหรือการวิจัยค้นคว้าจะเกิดขึ้นก่อน
แล้วตามด้วยการตัดสินใจเกี่ยวกับเนื้อหาของสาร
3. ระยะที่สาม การตัดสินใจที่จะใช้ช่องทางสื่อ
และรูปแบบของการสื่อสารเกิดขึ้น
4. ระยะที่สี่ สารถูกส่งออกไป
5. ระยะที่ห้า ผู้ฟังได้รับสารและเข้าใจจุดมุ่งหมายของการสื่อสารซึ่งเป็นที่เข้าใจได้ว่า
การสื่อสารสำเร็จตามวัตถุประสงค์ วงจรเช่นนี้จะเริ่มขึ้นอีกถ้าผู้ฟังมีการสื่อสารกลับ
การเลือกใช้สื่อในการสื่อสาร (Media of Communication)
1. การสื่อสารด้วยการเขียน รูปแบบของการเขียนที่ใช้ทางธุรกิจมีหลายแบบ เช่น ข้อความสั้นๆ
บันทึกข้อความ คำแถลงการณ์ ประกาศ จดหมาย รายงาน แบบสอบถาม แบบฟอร์มหนังสือ วารสาร
โฆษณา ฯลฯ การสื่อสารด้วยการเขียนมีข้อดีข้อเสีย ดังนี้
ข้อดี
1. เป็นสื่อที่มีความคงทนถาวร
2. ช่วยหลีกเลี่ยงการพบปะเป็นการส่วนตัว
3. เหมาะกับข้อความที่ยาวและยากซึ่งต้องการศึกษาอย่างละเอียด
4. เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นทางการมากกว่าสื่อด้วยวิธีอื่นๆ
ใช้เป็นหลักฐานได้
5. สะดวกในการติดต่อกับคนเป็นจำนวนมาก
ข้อเสีย
1. ราคาแพง มีค่าใช้จ่ายสูง เช่น
เลขานุการ เครื่องพิมพ์ดีด ค่าไปรษณียากร เป็นต้น
2. เสียเวลาในการผลิต
3. มีความล่าช้าเพราะการขนส่ง
4. เสียเวลาในการเลือกใช้ภาษา เพื่อไม่ให้ผิดพลาดในการสื่อสาร
5. ความคงทนถาวร ทำให้ยากต่อการแก้ไขเมื่อทำผิดพลาดไป
2. การสื่อสารด้วยวาจา ได้แก่ การพูดโทรศัพท์ การพูดในที่ประชุม การให้สัมภาษณ์
และการพูดในทุกๆที่ การสื่อสารด้วยวาจามี 2 ลักษณะ คือ การพูดแบบเผชิญหน้ากัน
และการพูดแบบไม่เผชิญหน้ากัน การสื่อสารด้วยวาจามีข้อดี ข้อเสีย ดังนี้
ข้อดี
1. สะดวก รวดเร็ว เช่น การใช้โทรศัพท์
2. ประหยัดเงิน การใช้โทรศัพท์ในท้องถิ่นเดียวกันย่อมถูกกว่าการเขียนจดหมาย
3. เน้นความสำคัญของข้อความได้ โดยการเน้นคำพูด
ความดังของเสียงจังหวะในการพูดและน้ำเสียงช่วยเน้นให้เห็นความสำคัญของสิ่งที่พูดได้
4. การสื่อสารด้วยวาจา เป็นวิธีที่ไม่เป็นทางการที่สุดในบรรดาวิธีการสื่อสารต่างๆที่ใช้
เช่น การพูดคุยเล่นระหว่างทาง
ข้อเสีย
1. ผู้พูดต้องพูดจาให้ถูกต้องชัดเจน
2. ส่วนใหญ่ไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร
จึงถูกบิดเบือนได้ง่าย เมื่อมีการส่งข้อความต่อๆกันไป
3. คนส่วนมากมักจำสิ่งที่ได้ยินเพียงครั้งเดียวไม่ค่อยได้
4.การสื่อสารด้วยวาจาเป็นวิธีที่ไม่ได้ผลมากที่สุด
ในกรณีที่ผูพูดต้องการความแน่ใจว่าตนได้สื่อสารกับคนกลุ่มใหญ่กลุ่มหนึ่งเป็นพิเศษ
3. การสื่อสารด้วยรูปหรือภาพต่างๆ เช่น ภาพลายเส้น ป้ายประกาศ ภาพถ่าย เป็นต้น รวมถึงอุปกรณ์โสตทัศนศึกษาที่ใช้ในการฝึกและสอนทั้งหมด เช่น โทรทัศน์วงจรปิด แผ่นโปร่งใส ภาพยนตร์ ซึ่งมีข้อดี ข้อเสียดังนี้
ข้อดี
1. สามารถดึงดูดความสนใจได้ดี
2. ทำให้สะดุดตา เช่นป้ายโฆษณา
3. ใช้เป็นที่เข้าใจได้ตรงกัน เช่น ป้ายจราจร
ข้อเสีย
1. ใช้ได้กับเฉพาะวิชาที่เป็นรูปธรรม
2. แบบเรียบๆไม่ตกแต่งมากจะดึงดูดความสนใจได้มากกว่าข้อความที่ยากๆ แต่อาจต้องใช้รูปภาพเป็นชุดต่อๆกันในการสื่อสาร
อุปสรรคในการสื่อสาร
อุปสรรคในการสื่อสาร หมายถึง
สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ ของผู้สื่อสาร และผู้รับสาร
อุปสรรคในการสื่อสารอาจเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการสื่อสาร
ดังนั้นอุปสรรค ในการสื่อสารจากองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1. อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร
1.1
ผู้ส่งสารขาดความรู้ความเข้าใจและข้อมูลเกี่ยวกับสารที่ต้องการจะสื่อ
1.2
ผู้ส่งสารใช้วิธีการถ่ายทอดและการนำเสนอที่ไม่เหมาะสม
1.3 ผู้ส่งสารไม่มีบุคลิกภาพที่ไม่ดี
และไม่เหมาะสม
1.4
ผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการส่งสาร
1.5
ผู้ส่งสารขาดความพร้อมในการส่งสาร
1.6
ผู้ส่งสารมีความบกพร่องในการวิเคราะห์ผู้รับสาร
2. อุปสรรคที่เกิดจากสาร
2.1 สารไม่เหมาะสมกับผู้รับสาร
อาจยากหรือง่ายเกินไป
2.2 สารขาดการจัดลำดับที่ดี
สลับซับซ้อน ขาดความชัดเจน
2.3
สารมีรูปแบบแปลกใหม่ยากต่อความเข้าใจ
2.4 สารที่ใช้ภาษาคลุมเครือ
ขาดความชัดเจน
3. อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ
หรือช่องทาง
3.1 การใช้สื่อไม่เหมาะสมกับสารที่ต้องการนำเสนอ
3.2
การใช้สื่อที่ไม่มีประสิทธิภาพที่ดี
3.3
การใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสมกับระดับของการสื่อสาร
4. อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร
4.1 ขาดความรู้ในสารที่จะรับ
4.2 ขาดความพร้อมที่จะรับสาร
4.3
ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อผู้ส่งสาร
4.4
ผู้รับสารมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อสาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น